วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แบบฝึกหัด : งบลงทุน


แบบฝึกหัด


1.ประเภทของการลงทุนมีกี่ประเภท จงอธิบาย
มี 3 ประเภท
1. โครงการลงทุนเพื่อลดต้นทุน คือ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตหรือการดำเนินงานหรือเป็นโครงการที่ต้องการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพ
2. โครงการลงทุนใหม่ คือ โครงการที่ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการของบริษัท เนื่องจากความต้องการที่จะขยายตลาดใหม่
3. โครงการลงทุนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมาย คือ โครงการลงทุนประเภทนี้จะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงแต่จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมอื่นๆดีขึ้นไปด้วย

2.ขั้นตอนของการจัดทำงบลงทุนมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
มี 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่1  ทำการค้นหาหรือศึกษาโครงการลงทุน
ขั้นตอนที่ประมาณการกระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน(มูลค่าของโครงการ)
ขั้นตอนที่ประเมินโครงการลงทุนและตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน
ขั้นตอนที่ดำเนินงานตามโครงการลงทุนและตรวจสอบโครงการลงทุน

3.เพราะอะไร กระแสเงินสดสะท้อนความเป็นจริงของเวลาดีกว่ากำไรในทางบัญชี
กระแสเงินสด คือ เงินสดที่ได้รับและสามารถนำไปลงทุนได้อีก

กำไรในทางบัญชี คือ สิ่งที่กิจการทำมาได้แต่ไม่ใช่เงินสดที่มีจริงๆในมือ

บทที่ 3 งบลงทุน ( Capital Budgeting )



บทที่ 3 งบลงทุน ( Capital Budgeting )
งบลงทุน (Capital Budgeting) คือ แผนการใช้จ่ายลงทุนในทรัพย์สินถาวรและขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการลงทุนว่าจะเลือกโครงการลงใดโครงการหนึ่ง

ประเภทของโครงการลงทุน
1. โครงการลงทุนเพื่อลดต้นทุน(cost reduction project) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนในการผลิตหรือการดำเนินงานหรือเป็นโครงการที่ต้องการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น การลงทุนเกี่ยวกับเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่าที่กำลังหมดอายุการใช้งาน
2. โครงการลงทุนใหม่(expansion project) โครงการที่ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในสินค้าและบริการของบริษัท เนื่องจากความต้องการที่จะขยายตลาดใหม่ เช่น การผลิตสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด
3. โครงการลงทุนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมาย(mandated project) โครงการลงทุนประเภทนี้จะไม่ได้รับผลประโชยช์โดยตรงแต่จะช่วยให้สิ่งแวดล้อมอื่นๆดีขึ้นไปด้วย เช่น การลงทุนระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน อาจจะไม่ได้ผลตอบแทนแต่ได้ช่วยเหลือในสังคม ความปลอดภัยต่างๆ

ลักษณะของโครงการลงทุน
การที่บริษัทจะทำการตัดสินใจในการเลือกลงทุนในโครงการลงทุนใดโครงการลงทุนหนึ่งนั้น ต้องพิจารณาด้วยว่าโครงการลงทุนนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยปกติแล้วลักษณะโครงการลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1. โครงการลงทุนที่อิสระต่อกัน (independent project) เป็นลักษณะของโครงการลงทุนที่ไม่มีการแข่งขันซึ่งกันและกัน บริษัทนั้นอาจจะไม่เลือกโครงการลงทุนใดเลยหรืออาจจะเลือกลงทุนในบางโครงการหรืออาจจะเลือกโครงการลงทุนทั้งหมดเลยก็เป็นได้
2. โครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน (mutually exclusive project) ถ้าเลือกตัดสินใจในการลงทุนโครงการใดไปแล้วจำเป็นที่ต้องปฏิเสธอีกโครงการหนึ่งไป
เช่น บริษัทต้องการเปลี่ยนเครื่องถ่ายเอกสารใหม่ บริษัทจะต้องเลือกระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อ A หรือ B

ขั้นตอนของการจัดทำงบลงทุน ( Stages in the Capital Budgeting Process )
1. ทำการค้นหาหรือศึกษาโครงการลงทุน
2. ประมาณการกระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน(มูลค่าของโครงการ)
3. ประเมินโครงการลงทุนและตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน
4. ดำเนินงานตามโครงการลงทุนและตรวจสอบโครงการลงทุน

แนวทางการประมาณการกระแสเงินสด
เราต้องกำหนดแนวทางในการวัดมูลค่าโครงการลงทุน มูลค่าของโครงการลงทุน คือ กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นของโครงการลงทุนแต่ละโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่จะต้องทราบว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
1.            ควรใช้กระแสเงินสดมากกว่าผลกำไรทางบัญชี
เราใช้กระแสเงินสดไม่ได้ใช้กำไรในทางบัญชีเป็นเครื่องมือในการประมาณ เพราะกระแสเงินสด(cash flows)คือเงินสดที่ได้รับและสามารถนำไปลงทุนได้อีก ส่วนกำไรในทางบัญชีคือผลการดำเนินงานของกิจการ สิ่งที่กิจการทำมาได้แต่ไม่ใช่เงินสดที่มีจริงๆในมือ นอกจากนี้เวลา(time) ยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้กระแสเงินสดกับกำไรแตกต่างกัน เนื่องจากกระแสเงินสดเป็นเครื่องที่สะท้อนความจริงของเวลาได้ดีกว่ากำไรทางบัญชี
2.            ควรคำนึงถึงแต่ส่วนเพิ่มหรือส่วนต่างของกระแสเงินสด
การตัดสินใจจะต้องพิจารณาว่าถ้าหากลงทุนไปแล้วกระแสเงินสดทั้งหมดของกิจการจะเป็นเท่าไหร่และถ้าไม่ลงจะเป็นเท่าไหร่แล้วนำจำนวนเงินที่ได้มาเปรียบเทียบกันว่าอันไหนคุ้มทุนมากกว่ากัน
นอกจากนี้กระแสเงินสดที่จะเพิ่มนั้นจะต้องเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหลังภาษีเท่านั้น () เพราะมันจะสะท้อนความเป็นจริงได้มากกว่า
3.            ควรระมัดระวังกระแสเงินสดที่มาจากโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว
จะต้องวิเคราะห์กระแสเงินสดส่วนที่เป็นยอดขายของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น โดยที่จะไม่พิจารณาถึงยอดขายของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มดแทนผลิตภัณฑ์เก่า
4.            ควรพิจารณาถึงผลรวมของทั้งกิจการ
การพิจารณายอดขายรวมของโครงการลงทุนใหม่และโครงการลงทุนเดิมเพื่อนำมาเปรียบว่าจะยอมรับโครงการใหม่หรือไม่
5.            ควรพิจารณาถึงความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น
โครงการลงทุนใหม่จะต้องใช้เงินหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นสินค้าคงเหลือที่ขึ้น ลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเงินทุนหมุนนั้นจะอยู่กับโครงการตลอดไปจนกว่าสิ้นสุดโครงการ
6.            ควรพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่ม
- กระแสเงินสดรับส่วนเพิ่ม : ส่วนของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
- กระแสเงินสดจ่ายส่วนเพิ่ม : ส่วนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
เช่น ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ

7.            ต้นทุนจมไม่ถือว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่ม
ต้นทุนจม คือ ต้นทุนที่เราจ่ายไปแล้วในอดีต ไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคตไม่สามารภเรียกกลับคืนได้
8.            ควรพิจารณาถึงต้นทุนค่าเสียโอกาส
ต้นค่าเสียโอกาส คือ มูลค่าของผลตอบแทนจากกิจกรรมที่สูญเสียโอกาสไปในการเลือกทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน
9.            ควรพิจารณาต้นทุนส่วนกลางว่าเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหรือไม่
- หากเป็นต้นทุนโดยตรงของโครงการลงทุนนั้นก็เป็นต้นทุนส่วนเพิ่มทั้งหมด
- หากเป็นต้นทุนส่วนกลางไม่ใช่ของโครงการลงทุนใหม่ทั้งหมดให้ใช้วิธีจัดสรรค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
10.    ดอกเบี้ยจ่ายและการจัดหาเงินลงทุนจะไม่นำมาพิจารณาในการประมาณกระแสเงินสด
การจ่ายดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายด้านทางการเงินอื่นๆ ไม่ควรนำมาพิจารณาเป็นกระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน

การประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุน
ให้ความสนใจต่อกระแสเงินสดส่วนเพิ่มหลังภาษีโดยการเปรียบเทียบโครงการลงทุนเดิมและโครงการลงทุนใหม่ การที่จะเลือกโครงการลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการประมาณการกระแสเงินสดของโครงการลงทุนนั่นเอง แบ่งได้ 3 ประเภท
1.กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
2.กระแสเงินสดส่วนเพิ่มตลอดอายุของโครงการ
3.กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ

กระแสเงินสดจ่ายลงทุน
เงินสดจ่ายที่จำเป็นต่อการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัท ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
-                   ต้นทุนของทรัพย์สินใหม่
-                   ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายด้วยเงินสด เช่น การลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน
-                   ค่าใช้จ่ายหลังภาษี เช่น ค่าฝึกอบรมพนักงาน
-                   กระแสเงินหลังภาษีที่เกิดจากการขายสินทรัพย์เก่าในกรณีโครงการลงทุนทรัพย์สินใหม่        เพื่อทดแทนทรัพย์สินเก่า
ผลกระทบทางภาษีจากการขายทรัพย์สินเก่า
เป็นภาษีที่เกิดจากการขยายทรัพย์สินเก่ามีความเป็นไปได้ด้วยกัน 3 ประการ
1. กรณีการขายทรัพย์สินเก่าได้ราคามากกว่ามูลค่าทางบัญชี
เกิดกำไรจากการขายสินทรัพย์ดังนั้นกำไรส่วนนี้ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ด้วย
2. กรณีขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาเท่ากับมูลค่าทางบัญชี
กรณีนี้ถือว่าไม่เกิดกำไรหรือขาดทุนจาการขายสินทรัพย์ ไม่ต้องเสียภาษี
3. กรณีขายทรัพย์สินเก่าได้ราคาน้อยกว่ามูลค่าทางบัญชี
แสดงว่ามูลค่าซากของสินทรัพย์น้อยกว่ามูลค่าตามบัญชีทำให้เกิดการขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ ต้องนำไปลดการเสียภาษี
ตัวอย่าง บริษัท เอริค จำกัด กำลังพิจารณาซื้อเครื่องจักรใหม่ในราคา 30,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี เพื่อนำมาทดแทนเครื่องจักรเก่าที่ซื้อมาเมื่อ 10 ปีที่แล้วในราคา 30,000 บาท มีอายุการใช้งานเหลืออีก 5 ปีและมีการหักค่าเสื่อมราคาปีละ 2,000 บาทเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานเครื่องจักรเก่าจะมีมูลค่าตามบัญชีเท่ากับศูนย์พอดี เครื่องจักรใหม่นั้นมีค่าขนส่ง 2,000 บาทและค่าติดตั้ง 3,000 บาท ซึ่งเครื่องจักรใหม่มีประสิทธิภาพสูงทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เร็วขึ้นจึงทำให้มีสินค้าระหว่างผลิตเพิ่มสูงขึ้น 5,000 บาท นอกจากนั้นบรัษัทยังขายเครื่องจักรเก่าให้แก่ผู้รับซื้อของเก่าได้เท่ากับ 15,000 บาท อัตราภาษีเงินได้ 34%
สามารถแสดงการคำนวณกระแสเงินสดจ่ายลงทุนได้ ดังนี้
กระแสเงินสดจ่าย
            ต้นทุนเครื่องจักรใหม่                                                  30,000
            ค่าขนส่ง                                                                      2,000
            ค่าติดตั้ง                                                                      3,000
     ต้นทุนซื้อเครื่องจักรใหม่                                                                35,000
ภาษีจากการขายเครื่องจักรเก่า(15,000-10,000)(34%)                         1,700
 เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น(การลงทุนในสินค้าเพิ่มขึ้น)                        5,000
 รวมกระแสเงินสดจ่าย                                                                        41,700
กระแสเงินสดรับ
     รายได้จากการขายเครื่องจักรเก่า                                                    15,000
            กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ                                                  26,700
ดังนั้น บริษัท เอริค จำกัด ต้องใช้เงินลงทุนในโครงการลงทุนนี้เท่ากับ 26,700 บาท ตอบ
กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณหระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุน
ประกอบด้วยรายการต่อไปนี้
-                   รายได้ส่วนเพิ่ม
-                   ค่าแรงงานและค่าวัตถุดิบประหยัดได้
-                   การเพิ่มขึ้นของค่าโสหุ้ย(ค่าใช้จ่ายในการผลิต) เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ
-                   ภาษีที่ประหยัดได้จากการเพิ่มขึ้นของค่าเสื่อมราคาถ้าโครงการลงทุนใหม่ได้รับคัดเลือก
หมายเหตุ : ถ้าโครงการลงทุนมีการจัดหาเงินทุนจากหนี้สิน ดอกเบี้ยจ่ายจากหนี้สินนั้นจะไม่นำมาคำนวณด้วยเพราะต้นทุนหนี้สินดังกล่าวรวมอยู่ในต้นทุนของเงินทุนแล้ว
ตัวอย่าง บริษัท เอริค จำกัด ถ้าสมมติเครื่องจักรใหม่จะทำให้บริษัทลดเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานลงได้ 10,000 บาทและ 1,000 บาทตามลำดับ นอกจากนั้นต้นทุนผลิตสินค้าเสียจะลดลงจากปีละ 8,000 บาท เป็นปีละ 3,000 บาท แต่บริษัทต้องเสียค่าบำรุงเครื่องจักรเพิ่มปีละ 7,000 บาท ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรเก่าตัดจ่ายปีละ 2,000 บาท เป็นเวลา 5 ปี การคำนวณค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่เป็นแบบเส้นตรงและอัตราภาษีเท่ากับ 34%
วิธีการคำนวณ
                                     กำไรทางบัญชี                 กระแสเงินสด
เงินสดประหยัดได้ :    เงินเดือนพนักงานลด                                      10,000                             10,000
                                    เงินสวัสดิการลด                                              1,000                               1,000
                                    ต้นทุนผลิตสินค้าเสียลด(8,000 – 3,000)         5,000                                5,000
ค่าใช้จ่าย :        ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรเพิ่ม                            -5,000                            -5,000
                        ค่าเสื่อมเพิ่ม(7,000 – 2,000)                             -5,000
เงินสดที่ประหยัดได้สุทธิก่อนภาษี                                                     7,000                               12,000
ภาษีจ่าย(7,000*34%)                                                                          -2,380                             -2,380
กระแสเงินสดสุทธิหลังหักภาษี                                                                                                   9,620
ดังนั้น กระแสเงินสดส่วนเพิ่มจากการดำเนินงาน 11,500 บาทต่อปี ตอบ

กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน
ปัจจัยบางประการที่อาจมีผลกระทบกับกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน
ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
-                   มูลค่าซากสุทธิหลังภาษีของโครงการลงทุน
-                   เงินสดจ่ายที่เกิดขึ้นจากการสิ้นสุดโครงการลงทุน
-                   เงินทุนหมุนเวียนสุทธิที่ได้รับกลับคืนเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน เช่น ค่าค้ำประกัน
ตัวอย่าง บริษัท เอริค จำกัด เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนแล้วไม่มีการขายเครื่องจักรออกไปแต่อย่างใดแต่บริษัทมีสินค้าระหว่างผลิตซึ่งจะได้รับการชำระกลับคืนเท่ากับ 5,000 บาท ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนจะเป็นเท่าใด
วิธีการคำนวณ
            มูลค่าซากสุทธิหลังหักภาษี                                                0
            บวก  เงินทุนหมุนเวียนสุทธิเพิ่ม                                 5,000
            กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน                    5,000
ดังนั้น กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนเท่ากับ 5,000 บาท ตอบ

จากการประมาณการกระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ กระแสเงินสดส่วนเพิ่มของโครงการลงทุนและกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนจาก บริษัท เอริค จำกัด สามารถนำเงินสดทั้ง 3 ประการมาแสดงแผนภูมิของกระแสเงินสดได้ ดังนี้